ไวรัส RSV ภัยใกล้ตัวของลูกน้อยที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม

ไวรัสจาก RSV (Respiratory Syncytial Virus) ภัยใกล้ตัวลูกน้อยที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม



ไวรัสจาก RSV ภัยใกล้ตัวของลูกน้อยที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม

ไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus) ทำให้เกิดโรคหลอดลมฝอยอักเสบในเด็กเล็ก และยังแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วทำให้เด็กป่วยพร้อมกันเป็นจำนวนมาก โรคนี้จะมีความรุนแรงกว่าไข้หวัดทั่วไป ทำให้เด็กมีอาการเหนื่อยหอบหรือมีภาวะปอดอักเสบร่วมด้วย

ไวรัส RSV คือ

RSV  เป็นไวรัสชนิดที่มีเปลือกหุ้ม มีชื่อเต็มว่า Respiratory Syncytial Virus เป็นเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุหลักมาจากไข้หวัด หลอดลมอักเสบจะพบในเด็กส่วนมากอาการจะไม่รุนแรง ป่วยภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่จะพบว่ามีอาการรุนแรงได้ในเด็กเล็ก โดยเฉพาะที่อายุน้อยกว่า 1 ปี เด็กคลอดก่อนกำหนด เด็กทีเป็นโรคหัวใจหรือโรคปอดร่วมด้วยและนอกจากนี้การติดเชื้อไวรัส RSV ในผู้สูงอายุอาจทำให้อาการรุนแรงได้เช่นเดียวกับเด็กเล็ก

RSV เป็นเชื้อไวรัสที่สามารถติดต่อผ่านสารคัดหลั่งของร่างกายได้จากฝอยละอองจากการไอ น้ำลาย น้ำมูก เสมหะผู้มีเชื้อ หรือสัมผัสเชื้อโรคที่อยู่บนพื้นผิวของสิ่งของได้เช่นกัน อัตราการแพร่กระจายอยู่ที่ผู้ป่วย 1 คน ต่อคนทั่วไปเพียง 1-2 คนเท่านั้น ผู้ติดเชื้อไวรัส RSV สามารถแพร่กระจายเชื้อได้นาน 3-8 วัน และเด็กทั่วไปที่รับเชื้อจากนอกบ้าน ก็สามารถแพร่เชื้อต่อให้กับบุคคลอื่นในบ้านได้

อาการเริ่มต้นของผู้ป่วย

เนื่องจากอาการของโรคจากเชื้อไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus) ยังแยกไม่ได้จากระบบทางเดินหายใจตัวอื่นแต่จะมักมีอาการที่รุนแรงกว่า แพทย์จะตรวจหาเชื้อโดยการป้ายโพรงจมูกไปตรวจในกรณีที่มีอาการหนัก และยังมีการเอกซเรย์ปอดหากสงสัยว่าการติดเชื้อนั้นลุกลามจนเกิดภาวะปอดอักเสบ แต่จะสามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้อย่างเช่น 

• เหนื่อยหอบ หายใจลำบาก

• หายใจครืดคราด มีเสียงหวีด

• มีอาการตัวเขียว

• ไอเสียงดังแบบมีเสมหะ

• มีเสมหะในลำคอมาก

• เด็กที่มีโรคประจำตัว โรคหัวใจ โรคปอดหรือหอบหืดอยู่แล้ว อาจมีอาหารหนักถึงขั้นหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

การป้องกันการติดเชื้อ RSV

• ล้างมือให้สะอาดก่อนเช้าใกล้ สัมผัสหรือมีการอุ้มเด็กเล็ก เนื่องจากมือเราอาจจะมีการสัมผัสเชื้อโรคจากที่อื่นโดยไม่รู้ตัว

• หากบุตรหลานมีอาการติดเชื้อไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus) ควรหยุดพักรักษาให้หายขาด ไม่ควรให้ไปโรงเรียนหรือพบปะผู้คน เนื่องจากสามารถแพร่เชื้อไวรัสให้แก่คนอื่นๆได้

• หลีกเลี่ยงการไปสถานที่แออัด

• หลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กได้รับการสัมผัสโดยตรงจากคนแปลกหน้า อย่างการกอดหรือหอมแก้ม

• ใช้วิธีสวมหน้ากากอนามัย

ข้อมูลอ้างอิงจาก : คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล, โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต

บทความอื่น ๆ

บทความอื่น ๆ