วิธีการรับมือกับเด็กเลือกกิน

วิธีการรับมือกับเด็กเลือกกิน


วิธีการรับมือกับเด็กเลือกกิน

เมื่อลูกของเราไม่ยอมรับประทานข้าว คุณพ่อคุณแม่อย่างเรามักมีความกังวลเรื่องสุขภาพ จึงต้องหาวิธีการหลอกล่อสารพัด แต่ก็ยังไม่สามารถป้อนข้าวลูกได้ และบางครั้งก็เกิดศึกบนโต๊ะอาหารที่น่าปวดหัว


ทำไมลูกเราถึงไม่ยอมกินข้าว สาเหตุที่เด็กเล็กไม่ยอมกินข้าวมีหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น ไม่หิว เพราะกินขนมมากเกินไป การเรียกร้องความสนใจและต่อต้านการถูกบังคับ รวมไปถึงสาเหตุบรรยากาศบนโต๊ะอาหารไม่เหมาะสม


เมื่อต้องรับมือกับสถานการณ์บนโต๊ะอาหาร
เราจึงรวบรวมการรับมือเมื่อลูกน้อยเลือกกิน เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้นำไปปรับใช้ดังนี้

 1. หลีกเลี่ยงการรบกวนเด็กระหว่างกิน : การถูกรบกวนด้วยเสียงโทรทัศน์ หรือของเล่นที่ดึงดูดความสนใจ

 2. ให้ความมีส่วนร่วมเล็กๆน้อยๆในการทำอาหาร : ให้ลองสัมผัสกลิ่น รส ช่วยจับ หยิบอาหาร ทำให้เด็กอยากรับประทานอาหารที่ตนเองมีส่วนร่วมในการทำมากขึ้น

 3. ให้เด็กรับประทานอาหารด้วยตนเอง : ช่วยให้เด็กรับประทานอาหารได้มากขึ้น อาจจะเลอะเทอะไปบ้างแต่ก็ช่วยเสริมพัฒนาการ

 4. ชื่นชมเด็ก : เมื่อเด็กรับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง

 5. เพิ่มความอยากอาหาร : ไม่ควรให้เด็กทานขนม หรือนม ใกล้กับมื้ออาหาร ควรให้ทานห่างกับมื้ออาหาร2-3 ชั่วโมง

 6. จำกัดเวลาการกิน : มื้ออาหารไม่ควรเกิน 30นาที 

 7. สร้างบรรยากาศบนโต๊ะอาหาร : ไม่ตึงเครียด ไม่บีบบังคับมากเกินไป

 8. เลือกชนิดและปริมาณอาหารที่เหมาะสมกับเด็ก : ค่อยๆตักทีละน้อย ถ้าเด็กทานหมดจึงค่อยเติมให้

 9. เทคนิคในการเริ่มอาหารชนิดใหม่ : เริ่มทีละน้อย พยายามให้ลองซ้ำๆ หรือคุณพ่อคุณแม่ต้องทานอาหารชนิดใหม่ต่อหน้าลูก โดยแสดงให้เห็นว่าอร่อยมาก

 10. ลดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ : พยายามไม่ให้เด็กเล่นอาหารหรือพูดคุยมากจนเกินไปแทนที่จะกินอาหาร สอนให้เด็กนั่งอยู่ที่โต๊ะอาหารจนกระทั่งทุกๆคนกินเสร็จ และที่สำคัญคือ ต้องสม่ำเสมอในการฝึก ไม่สลับไปมา เช่น บางวันให้เด็กทานเอง บางวันป้อนให้ บางวันดุ บางวันใจดี

บทความอื่น ๆ

บทความอื่น ๆ